เซรุ่มจากจระเข้ (American Alligator) มีฤทธิ์ต้าน
ไวรัสก่อโรคเอดส์ ไข้สมอง
เซรุ่มจากจระเข้ (American Alligator) มีฤทธิ์ต้านไวรัสก่อโรคเอดส์ ไข้สมองอักเสบ และ เริม บางชนิด และพบว่าเซรุ่มที่ผ่านความร้อน 56 ◦C 30 นาที มีฤทธิ์ต้านไวรัสเอดส์ (HIV-1) ลดลง แต่ฤทธิ์ต้านเวสต์ไนล์ไวรัส (WNV) และ ไวรัสเริม (HSV-1) คงอยู่
ฤทธิ์ในการต้านไวรัสของเซรุ่มจากเลือดจระเข้สายพันธุ์อเมริกัน
บทคัดย่อ
การเก็บตัวอย่างเซรุ่มจระเข้สายพันธุ์อเมริกัน (American alligator) จากธรรมชาติมาทดสอบฤทธิ์ในการต้านไวรัส 3 ชนิดโดยใช้การทดสอบในเซลล์ และวัดค่าความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ (Inhibitory Concentration; IC) ซึ่งวัดจากปริมาณเซรุ่มที่สามารถยับยั้งการทำงานของไวรัสได้ 50 % พบว่าเซรุ่มจระเข้มีความสามารถยับยั้งการเจริญของไวรัสเอดส์ประเภทที่1 (HIV-1; IC50 = 0.9%), เวสต์ไนล์ไวรัส (WNV; IC50 = 4.3%) และ ไวรัสเริมประเภทที่ 1(HSV-1; IC50 = 3.4%)ได้ การศึกษาฤทธิ์ต้านไวรัสของเซรุ่มจระเข้ที่ความเข้มข้นสูงๆ นั้นทำได้ลำบากเนื่องจากเซรุ่มเองมีความเป็นพิษต่อเซลล์ที่ทำการทดลอง ผลความเข้มข้นของเซรุ่มที่ทำให้เซลล์มีชีวิตที่ทำการทดสอบลดลงจำนวนลงครึ่งหนึ่ง (TC50) จากการทดสอบเชื้อไวรัสเอดส์ประเภทที่1, เวสต์ไนล์ไวรัส และ ไวรัสเริมประเภทที่ 1 เป็น 32.8, 36.3 และ 39.1% ตามลำดับ เมื่อทดสอบเซรุ่มที่ผ่านการให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 56 องศาเซลเซียส นาน 30 นาทีพบว่าความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ ยับยั้ง (IC50) การเจริญของไวรัสเอดส์ประเภทที่ 1, เวสต์ไนล์ไวรัส และ ไวรัสเริมประเภทที่ 1 ลดลงคือมีค่า >50, 9.8 and 14.9% ตามลำดับ และยังพบว่าทำให้ค่า TC50 สูงขึ้นในทุกการทดสอบ เมื่อเทียบกับเซรุ่มที่ไม่ผ่านความร้อน (47.3 to >50%) ซึ่งคอมพลีเมนต์ในเซรุ่มจระเข้สามารถเสียสภาพได้เมื่อโดนความร้อน จากการทดลองพบว่าฤทธิ์ต้านไวรัสเอดส์ประเภทที่ 1 (HIV-1) ลดลงอย่างมากเมื่อผ่านความร้อนซึ่งคาดว่าคอมพลีเมนต์ในเซรุ่มนั้นทำหน้าที่ยับยั้งไวรัสเอดส์ประเภทที่ 1 นั้นเสียสภาพไป ส่วนฤทธิ์ต้าน เวสต์ไนล์ไวรัส และ ไวรัสเริมประเภทที่ 1 ไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อผ่านความร้อน จึงคาดว่าส่วนที่ออกฤทธิ์ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับคอมพลีเมนต์ในเซรุ่มจระเข้
Antiviral activity of serum
เซรุ่มจากจระเข้ (American Alligator) มีฤทธิ์ต้านไวรัสก่อโรคเอดส์ ไข้สมองอักเสบ และ เริม บางชนิด และพบว่าเซรุ่มที่ผ่านความร้อน 56 ◦C 30 นาที มีฤทธิ์ต้านไวรัสเอดส์ (HIV-1) ลดลง แต่ฤทธิ์ต้านเวสต์ไนล์ไวรัส (WNV) และ ไวรัสเริม (HSV-1) คงอยู่
from the American alligator
Abstract
Serum from wild alligators was collected and tested for antibiotic activity against three enveloped viruses using cell-based assays. Alligator serum demonstrated antiviral activities against human immunodeficiency virus type 1 (HIV-1; IC50 = 0.9%), West Nile virus (WNV; IC50 = 4.3%), and Herpes simplex virus type 1 (HSV-1; IC50 = 3.4%). The inhibitory concentration (IC50) is defined as the concentration of serum that inhibits 50% of viral activity. The antiviral effects of the alligator serum were difficult to evaluate at high concentrations due to the inherent toxicity to the mammalian cells used to assay viral activities. The TC50 (serum concentration that reduces cell viability to 50%) values for the serum in the HIV-1, WNV, and HSV-1 assays were 32.8, 36.3 and 39.1%, respectively. Heat-treated serum (56 ◦C, 30 min) displayed IC50 values of >50, 9.8 and 14.9% for HIV-1, WNV and HSV-1 viruses, respectively. In addition, the TC50 values using heat-treated serum were substantially elevated for all three assays, relative to untreated serum (47.3 to >50%). Alligator serum complement activity has been shown to be heat labile under these conditions. HIV-1 antiviral action was heat-sensitive, and thus possibly due to the action of serum complement, while the anti-WNV and anti-HSV-1 activities were not heat labile and thus probably not complement mediated.
ที่มา: Merchant, M.E. et al. Antiviral activity of serum from the American alligator (Alligator mississippiensis). Antiviral Research 2005; 66(1):35-38.
แปลโดย: ดร. ธีรนันท์ เต็มศิริพงศ์